ประวัติภาควิชา

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพเป็นสาขาหนึ่งของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมซึ่งเป็นคณะที่เปิดตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยศิลปากรฉบับที่ 1 พ.ศ. 2529 เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม และตลาดแรงงานเป็นหลัก

ในปี พ.ศ. 2533 ได้มีการพิจารณาจัดทำหลักสูตรสาขาวิชาต่างๆที่จะเปิดสอนในระยะแรกของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีสาขาวิชา เทคโนโลยีชีวภาพเป็นหนึ่งในสาขาเหล่านี้นอกเหนือไปจากสาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุ และสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร (โดยมหาวิทยาลัย เห็นว่าสาขาวิชาต่างๆของคณะฯมีความเหมาะสมสำหรับการพัฒนาประเทศในปัจจุบันและอนาคตและสอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรม ของภูมิภาคตะวันตกรวมทั้งตอบสนองต่อความต้องการของประเทศที่เน้นการพึ่งตนเองด้านเทคโนโลยี) อีกหนึ่งปีต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในมหาวิทยาลัยศิลปากร ทบวงมหาวิทยาลัยขึ้นโดยได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108 ตอนที่ 193 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534

ในปี พ.ศ. 2535 ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้เปิด รับนักศึกษารุ่นแรกเพื่อเข้าศึกษาในสาขาวิชา เทคโนโลยีชีวภาพ จำนวน 20 คน โดยมีวัตถุประสงค์การจัดตั้งเพื่อดำเนินการเรียนการสอนในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และสาขาอื่น ที่ใกล้เคียง และดำเนินการวิจัยในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อสร้างเสริมองค์ความรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์รวมทั้ง ให้บริการ ทางวิชาการแก่สังคม และเพื่อเป็น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และ เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติได้

ปณิธาน

“มุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพและเป็นที่ยอมรับสร้างสรรค์ผลงานวิจัย และให้บริการทาง วิชาการเพื่อประโยชน์แก่สังคม และประเทศชาติ”

วิสัยทัศน์

  1. ผลิตบัณฑิตทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมและจริยธรรม

  2. เป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่ผนวกศิลปวัฒนธรรม มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

  3. เป็นศูนย์กลางทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพของภาคตะวันตกและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  4. เป็นภาควิชาที่มีการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้และประชาคมมีส่วนร่วม

  5. เป็นภาควิชาที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมและชุมชนโดยอาศัยความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

พันธกิจ

  1. พัฒนาและถ่ายทอดความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อเสริมสร้างบุคคลให้มีความรู้ในวิชาชีพ มีสติปัญญา ความคิดและความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคม

  2. ค้นคว้าวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ

  3. ให้บริการทางวิชาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพแก่สังคมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและ

    พัฒนาความสามารถในการแข่งขันระดับชาติและนานาชาติ

  4. สืบสานและทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอันดีงามทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

  5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการในภาควิชาให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

    และประชาคมมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

  6. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนพันธกิจของภาควิชา

 วัตถุประสงค์

  1. จัดโปรแกรมการเรียนการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ มีความคิดสร้างสรรค์ มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย มีความสำนึกต่อสังคม

  2. สร้างสรรค์ผลงานวิจัยทั้งประเภทที่สร้างองค์ความรู้ใหม่และที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

  3. ให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนและสังคมตามศักยภาพของภาควิชาฯ